วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนะนำงานวิจัย : เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


กัญญนันทน์  กิตติ์ชนะภิรมน์.  (2554). การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Construction
of Picture Books for Preparing Mathematics Readiness of Preschoolers)
.  การค้นคว้าแบบอิสระ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประถมศึกษา)) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  95 หน้า.  ภาพประกอบ, ตาราง.  (ว 372.7 ก113ก) 09/2555/139

            สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย  ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ และศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่
2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต
2 จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 18 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังใช้หนังสือภาพ จำนวน
10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จำนวน
1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ของคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ของโรงเรียน ร้อยละ 60.00 และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย  ส่วนความ   คิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า  
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม ซึ่
งสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ  ปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์
เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 93.39 
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จำนวน
18 คน อยู่ในระดับ มาก ในทุกด้าน








ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่
เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัย
ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียน
คณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป   ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้น
อาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ
          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
               1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                   คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดย

ตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็น
รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
               2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                   คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือ

สร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง 
คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้
(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) 
ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง
 เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้ว
เด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้
               3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                   คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

 ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น 
เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดง
ให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญใน
การเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ
 และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียน
ในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
               4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                   คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการ

จัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัย
การเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ 
ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนา
จนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้
               5. ทักษะการวัด(Measurement)
                   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และ

การจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถ
ในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่)
 เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิม
ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
               6. ทักษะการนับ(Counting)
                   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของ

กลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้
จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์
แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบ
ท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวน
เพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียง
สิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถ
เข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย
               7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคย

จากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน 
เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถ
ทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก 
เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
                ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ 
                1. ทักษะในการจัดหมู่
                2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
                3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16




วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

การเรียนการสอน

         เครื่องมือ-การบันทึกเป็นมายแมบ ตารางเปรียบเทียบ
         ควรที่จะมีการตั้งเกณฑ์เดียว เช่น นำกล้วยที่มีสีเขียวใส่ตะกร้า
         คณิตศาสตร์-คิดอย่างมีเหตุ สามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์

         (จัดตู้ปลา-เซต) ศิลปะ(สมมาตร รูปทรง)

อาจารย์ให้เขียน
         -ความรู้ได้อะไรบ้าง
         -ได้ทักษะอะไร
         -วิธีการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15



วันอังคารที่  12  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน

        หน่วยเรื่อง อวัยวะภายนอก

วันที่หนึ่ง
   
        เด็กๆค่ะอวัยวะภายนอกที่เด็กๆมองเห็นมีอะไรบ้างค่ะ
        เด็กยกมือตอบ เเล้วครูก็จดลงบนกระดาน ตามที่เด็กบอก
              

วันที่สอง
        พูดเรื่องลักษณะ รูปร่าง สี พื้นผิว ของอวัยวะ
        เสร็จเเล้วก็ร่วมกันสรุป

วันที่สาม 
       -ร้องเพลง ตาเรามีไว้ดู
        ใช้คำถาม ตามีไว้ทำอะไรค่ะ    ดูอะไรได้บ้างค่ะ
         หูเรามีไว้ทำอะไรค่ะ  ฟังอะไรได้บ้างค่ะ   บอกครูสิค่ะว่า จมูกมีไว้ทำอะไรค่ะ ปากละค่ะ
        (ทำเป็นเเมป)
        ไหนบอกครูสิค่ะว่า อวัยวะของเรามีหน้าที่อะไรกันบ้าง
         -สรุป อวัยวะของเรามีหน้าที่เเตกต่างกัน

วันที่สี่  
         ประโยชน์ของอวัยวะ (ผลที่จะได้รับ)
          เพื่อนเล่านิทาน เเละก็มาสรุปว่า จมูกดมกลิ่น รู้ว่ากลิ่นหอม (เเยกเเยะกลิ่นได้)
          ถือของ หอบสิ่งของ  สามารถที่จะประกอบอาหารได้

วันที่ห้า 
          รักษาความสะอาดของอัวยวะภาพนอก (มีภาพ)
          ตา--ผงเข้าตา  ผงเข้าตาให้รีบบอกพ่อ เเม่ เด็กๆทายสิ พ่อ เเม่  จะทำอย่างไร

           
           -สรุปตอนท้ายร่วมกับเด็กๆ




วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วัน อังคาร ที่  5  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

การเรียนการสอน

กลุ่มที่4 สอนหน่วยเรื่อง กระดุม
             วันเเรก  ชนิดของกระดุม  ( มิ้งค์ )
  นำเข้าสู่บทเรียนโดย1.  ครูร้องเพลง   

    หลับตาเสีย    อ่อนเพลียทั้งวัน
นอนหลับเเล้วฝัน   เห็นเทวดา
มาร่ายมารำ            งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา           เทวดาไม่มี
    
             2.ครูเเจกภาพที่เป็นจิกซอ รูปกระดุม ให้เด็กเป็นบางคน
             3. .ให้เด็กนำภาพที่ได้มาต่อหรือวางให้เกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์
            4. เด็กๆบอกคุณครูซิค่ะว่า เป็นภาพอะไร
ชนิดของกระดุม
           กระดุมที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้างค่ะ เด็กบอกเเละครูก็เขียนตามที่เด็กบอกไว้บนกระดาน
เด็กๆอยากทราบไหมค่ะว่าในขวดนี้มีกระดุมทั้งหมดกี่เม็ด
(อยู่ในการคาดคะเน คือการวัดเเบบไม่เป็นทางการ)
            - ครูนับกระดุมในขวด
                1 2  3 4 5 6 7 
น้องปลาบอกว่ามี7 เม็ด เพื่อนๆปรบมือให้น้องปลาด้วยค่ะ
ไหนใครจะมาช่วยคุณครูหยิบเลขมากำกับไว้ค่ะ
            -ครูมีกระดุมมา ซึ่งประกอบด้วยกระดุมที่มี4รู เเละ 1 รู
เด็กเเยกกระดุมที่มี 1 รู  ออก ได้ 4 เม็ด เเละกระดุมที่มีมากกว่า 1 รู มี3เม็ด

               วันที่สอง ลักษณะของกระดุม  ( ดิว )
                 กระดุมโลหะ กับ กระดุมอโลหะ จะรู้ได้อย่างไรจะต้องใช้เเม่เหล็กมาดูดเพื่อแยกกระดุม
                  วาดตารางสัมพันธ์
                 
               วันที่สาม ประโยชน์ของกระดุม  ( มิ้น )
                 อาจารย์ให้ไปแต่งนิทานเกี่ยวกับกระดุมที่สามารถนำมาเชี่อมโยงและสอดแทรกกับคณิตศาสตร์

                วันที่สี่  วิธีการเก็บรักษากระดุม  ( น้ำหวาน )
                 เก็บใส่กล่อง , กระปุก
                 1.เด็ก ๆ บอกครูสิค่ะว่าจะไปหาซื้อกระดุมได้ที่ไหน ?
                 2.เด็ก ๆ รู้ไหมค่ะว่ากระดุมสามารถทำให้เกิดอาชีพใดบ้าง ?
                 3.เด็ก ๆ รู้ไหมค่ะว่าจะต้องเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรบ้าง ?
                 
                 วันที่ห้า ข้อควรระวังของกระดุม ( ฝ้าย )
                 **ไม่ได้เข้าเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วัน อังคาร ที่  29   มกราคม  พ.ศ.2556

การเรียนการสอน

             - วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าเรียนพร้อมกันทั้ง 2 เซกพร้อมกัน เพื่อเข้ามาพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเรื่องการทำกิจกรรม และแบ่งภาระหน้าที่ให้แต่ละคน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
       1.การแสดงการรำ - สว่างจิต  ( แพทตี้ )
       2.การแสดงร้องเพลง - รัตติยา ( จูน )
       3.การแสดงโฆษณา - นิศาชล ( โบว์ ) , ละไม ( เปิ้ล )
       4.พิธีกร - ลูกหยี , ซาร่า
       5.การแสดงโชว์
               - ลิปซิ่งเพลง - จุฑามาส , นีรชา
               - เต้นประกอบเพลง - พลอยปภัส , เกตุวดี , มาลินี
               - ละครใบ้ - ลูกหมี , จันทร์สุดา
               - ตลก - ณัฐชา , แตง , ชวนชม
        6.ผู้กำกับหน้าม้า - พวงทอง , นฎา
        7.หน้าม้า - เพื่อน ๆ ที่เหลือจะต้องเป็นน่าหม้า

                 - และอาจารย์ให้ทุกคนช่วยกันสรุปกิจกรรมในวันนี้ว่าสามารถนำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สามารถสรุป ได้ดังนี้
                         1.การนับ
                         2.การลำดับเหตุการณ์
                         3.การทำตามแบบ
                         4.การบวก


MUSIC